"สุขภาพดีด้วย การดูแลตนเองตามหลักเน่ยจิง" โดย ดร.หวาง ลี่ ฮุ่ย
“สุขภาพดีด้วย การดูแลตนเองตามหลักเน่ยจิง”
สุขภาพที่ดี ย่อมต้องสัมพันธ์ไปในทิศทางเดียวกันกับธรรมชาติเสมอ ทั้งสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ และสภาพแวดล้อมทางสังคม ทั้งหมดทั้งมวลล้วนแต่มีอิทธิพลต่อร่างกายกายคนเราทั้งสิ้น ความหมายของการมีสุขภาพที่ดี ไม่เพียงแต่ไม่เจ็บป่วย แต่ต้องแข็งแรงทั้งร่างกายเป็นปัจจัยหลัก ตามด้วยในด้านของสุขภาพจิต ความคิด สังคม และคุณธรรมเป็นปัจจัยรองลงมาร่วมกัน
หลักการพื้นฐานของการดูแลรักษาสุขภาพ ตามหลักคัมภีร์โบราณเน่ยจิงนั้น จะต้องเป็นไปตามหลักทฤษฎีอิน – หยาง ที่เกิดการเปลี่ยนแปลงไปตามกฎของธรรมชาติ ซึ่งจะแบ่งได้ดังนี้
1. การดูแลรักษาสุขภาพตามฤดูกาล
ตามหลักทฤษฎีอิน – หยาง ที่เปลี่ยนแปลงไปตามฤดูกาลทั้ง 4 เราต้องบำรุงหยางในช่วงฤดูใบไม้ผลิ กับฤดูร้อน และบำรุงอินในช่วงฤดูใบไม้ร่วง กับฤดูหนาว โดยจะยกตัวอย่าง 2 ฤดู ดังนี้
ฤดูร้อน
เป็นฤดูกาลที่มนุษย์และธรรมชาติกำลังเจริญเติบโต สิ่งมีชีวิตทั้งหมดจะเต็มไปด้วยพลัง เราต้องห้ามนอนเร็ว แต่ต้องตื่นให้เร็ว ต้องปรับอารมณ์ให้รู้สึกเบิกบานใจ ดีใจก็แสดงออกมา ปรับอารมณ์ไม่ให้โกรธ มิฉะนั้นจะไปกระทบกับหัวใจ ดังคำกล่าวที่ว่า “การออกไปเพลิดเพลินกับแสงแดดเป็นยาวิเศษให้อารมณ์เบิกบานใจ” (SAD) และการออกไปพบปะกับผู้คนในสังคม
ฤดูใบไม้ร่วง
เป็นฤดูกาลที่อยู่ในสภาพการเก็บกัก ความมั่นคง ความสงบ เริ่มต้นเข้าสู่การบำรุง ปรับความเป็นอยู่ โดยเราจะต้องนอนเร็ว และตื่นเร็ว ปรับอารมณ์ให้สงบ
2. การดูแลรักษาสุขภาพตามกาลเวลา
ช่วงเช้า : เป็นช่วงเวลาที่พระอาทิตย์ขึ้น เปรียบเสมือนการลืมตาของคนเราที่จะมีพลังหยาง ( หยางชี่ ) ออกจากตา เพราะฉะนั้นจึงควรตื่นเช้าเพื่อออกกำลังกาย
ช่วงเที่ยง : เป็นช่วงเวลาที่แดดร้อนที่สุด หยางชี่ของคนเราก็จะมากสุดเช่นกันคนที่สภาพร่างกายไปในทางร้อนเกิน ( หยางแกร่ง ) อยู่แล้ว ห้ามทานอาหารที่มีฤทธิ์ร้อน มิฉะนั้นจะทำให้เกิดอาการร้อนในได้ ส่วนคนที่สภาพร่างกายไปในทางเย็น ( หยางพร่อง ) ต้องบำรุงหยาง โดยให้กินขิงสดวันละสองแผ่นทุกๆเช้า
ช่วงเย็น : พระอาทิตย์ตกดิน หยางชี่ที่ลดลง เช่นเดียวกับหยางชี่ของคนเราลดลงถูกเก็บกักเข้าสู่ร่างกายหมด จึงเป็นช่วงเวลาแห่งการพักผ่อน เพราะฉะนั้นสิ่งที่ดีที่สุด คือ ช่วงเช้าเราควรออกกำลังกาย และช่วงเย็นควรพักผ่อน
3. มนุษย์ควรเรียนรู้ที่จะควบคุมอารมณ์
มีความสุขอารมณ์ดี ร่างกายแข็งแรง แต่การที่มีอารมณ์ดีใจมากเกินก็ไม่ใช่สิ่งที่ดี ยกตัวอย่างเช่น ฟ่านจิ้น มีฐานะยากจนถึงขนาดที่ต้องขายไก่ เพื่อแลกกับการเป็นนักเรียนสอบจองหงวนเพื่อรับราชการเป็นเจ้าคนนายคน ซึ่งเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง ที่จะทำให้ชีวิตเค้าดีขึ้น เค้าเรียนจนอายุห้าสิบกว่าปี ในที่สุดก็สอบได้ จึงดีใจมากจนสติฟั่นเฟือน ส่วนอีกคนหนึ่งคือหนิวก่าว เป็นขุนนาง เมื่อทำการรบได้สำเร็จ ชนะฝ่ายตรงข้าม จึงดีใจมากจนหัวใจวายตายเพราะฉะนั้นเราจึงควรที่จะปล่อยวาง ควบคุมอารมณ์ไม่ให้ไปในทางใดทางหนึ่งมากเกินไป
อารมณ์ |
กระทบต่ออวัยวะ |
โกรธ |
ตับ |
ดีใจ |
หัวใจ |
ครุ่นคิด |
ม้าม |
เศร้าโศกเสียใจ วิตกกังวล |
ปอด |
กลัว |
ไต |
หลักการดูแลสุขภาพ
วิธีที่ 1 : โภชนาการที่เหมาะสม
รสชาติอาหารที่เหมาะสม การทานที่ถูกต้อง ไม่ใช่ว่าจะต้องทานให้ครบทั้งห้ารส
รสชาติ |
กระทบต่ออวัยวะ |
เปรี้ยว |
ตับ |
ขม |
หัวใจ |
หวาน |
ม้าม |
เผ็ด |
ปอด |
เค็ม |
ไต |
- ปริมาณที่เหมาะสม ไม่อิ่มมากเกิน มิฉะนั้นจะทำให้ม้ามและกระเพาะอาหารทำงานหนักเกิน
- อุณหภูมิ ควบคุมความเย็นความร้อนให้เหมาะสม
ไม่ร้อน : จนลวกปาก
ไม่เย็น : จนเสียวฟัน
- ฤดูกาลที่เหมาะสม
ฤดู |
อาหาร |
ใบไม้ผลิ |
ห้ามทานอาหารฤทธิ์ร้อน |
ร้อน |
ห้ามทานอาหารที่มีฤทธิ์เย็น ควรทานอาหารที่มีฤทธิ์ร้อน |
ใบไม้ร่วง |
ควรทานอาหารรสเปรี้ยว ร้อนเล็กน้อย เช่น ต้มยำ |
หนาว |
ควรทานหวาน ผลไม้ เช่น สาลี่ เพื่อให้ความชุ่มชื้นแก่ปอด และอุ่น ห้ามทานเย็น |
วิธีที่ 2 : ดูแลการใช้ชีวิตประจำวัน
ชีวิตจะต้องเป็นปกติ และเหมาะสม ควรทานอาหารให้ครบ 3 มื้อ ถ้าไม่ทานข้าวเช้าจะทำให้มีภาวะความเสี่ยงเป็นนิ่วในถุงน้ำดี ค่อนข้างสูง
วิธีที่ 3 : หลีกเลี่ยงการใช้กำลังมาก
การทำงานหนักมากเกิน โดยไม่ให้หยุดพักผ่อนอย่างเพียงพอ ก็เหมือนเป็นการฆ่าตัวเองทางอ้อม
วิธีที่ 4 : ใช้การบริหารร่างกาย
- การรำไทเก็กอู่ฉินซี่ ท่วงท่าการฝึกค่อนข้างง่าย เหมาะกับ ผู้สูงอายุ
- อี้จินจิง (คัมภีร์เปลี่ยนเส้นเอ็น) ท่วงท่าการฝึกค่อนข้างยาก เหมาะกับ วัยรุ่น
- การนวดกดจุด ควรทำหลังก่อนหรือหลังมื้ออาหารอย่างน้อง ครึ่งถึง 1 ชั่วโมง
- การฝึกโยคะ ควรทำหลังก่อนหรือหลังมื้ออาหารอย่างน้อง ครึ่งถึง 1 ชั่วโมง
- การฝึกออกเสียง 6 แบบ เพื่อให้ท้องขยับ บำรุงอวัยวะภายใน
ออกเสียง |
อวัยวะ |
ซวี |
ตับ |
เฮอ |
หัวใจ |
ฮู |
ม้าม |
ซือ |
ปอด |
ชุย |
ไต |
ซี |
ถุงน้ำดี |
- เต้น
- เดินแทนการนั่งรถ
ชื่อจุด |
ตำแหน่ง |
จงหว่าน |
จากสะดือขึ้นมา 3 นิ้ว |
กวนเหยวียน |
จากสะดือลงมา 3 นิ้ว |
สุ่ยเต้า |
จากกวนเหยวียนออกมาด้านข้าง 2 นิ้ว(ซ้ายขวา) |
เทียนซู |
จากสะดือออกมาด้านข้าง 2 นิ้ว (ซ้ายขวา) |
วิธีที่ 5 : ให้ความสำคัญกับการป้องกันโรค
- การป้องกันด้วย เจิ้งชี่ (ชี่ที่เป็นรากฐานของชีวิต) ทำร่างกายให้แข็งแรงอยูเสมอ
- หลีกเลี่ยงปัจจัยที่ก่อให้เกิดโรคจากภายนอก
- ถ้าเจิ้งชี่แข็งแรง สามารถป้องกัน ปัจจัยภายนอกอ่อนๆ ไม่ให้ร่างกายเกิดโรคได้
วิธีที่ 6 : ควบคุมระดับการมีเพศสัมพันธ์ให้เหมาะสม
ไต ทำหน้าที่กักเก็บสารจำเป็นในร่างกายที่พ่อแม่ให้มาแต่กำเนิด ซึ่งมีแต่ใช้ลดลงไปเรื่อยๆ โดยเฉพาะการมีกิจกรรมทางเพศจะต้องใช้พลังงานจากสารจำเป็นนั้น เมื่อใช้มากก็จะค่อยๆหมดไป และทำลายสุขภาพตนเองไปพร้อมๆกัน ซึ่งมีหลักการเช่นเดียวกับการตกไข่ในเพศหญิง ซึ่งไข่จะตกทุกๆเดือน จนหมดในอายุประมาณ 49 ปี ที่เริ่มเข้าสู่วัยทอง และเช่นเดียวกับการแบ่งตัวของเซลล์ ใน DNA ส่วนปลาย ก็จะแบ่งตัวไปเรื่อยๆจนหมด แตกตัวต่อไปไม่ได้