การตรวจวินิจฉัยพื้นฐานด้วยศาสตร์การแพทย์แผนจีน

การตรวจพื้นฐานที่สำคัญทางการแพทย์จีนมี 4 วิธี  ได้แก่
            1. การดู (望)
            2. การฟังและการดมกลิ่น (闻)
            3. การถาม (问)
            4. การจับชีพจรและการคลำ (切) 

1. การดู (望诊)            
     การดู เป็นวิธีการตรวจวินิจฉัยโดยการสังเกตความผิดปกติหรือความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นภายนอกร่างกาย  ได้แก่ การดูความมีชีวิตชีวา (精神) การดูสีหน้า ( 气色)  การดูลักษณะรูปร่างท่าทาง (形态) การดูลิ้น (舌)  การดูสิ่งขับถ่าย (二便) และการดูการคัดหลั่งต่างๆ (分泌物)
     จุดประสงค์ในการตรวจวินิจฉัยด้วยการดูก็เพื่อประเมินพยาธิสภาพของอวัยวะภายในที่สะท้อนออกมาให้เห็นความผิดปกติของร่างกายภายนอก  ทำให้เข้าใจถึงสภาวะของโรคได้  โดยเฉพาะอย่างยิ่ง  การดูใบหน้าและการดูลิ้น  ทางการแพทย์จีนถือว่าเป็นอวัยวะสำคัญที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับอวัยวะภายในมากที่สุด  ตัวอย่างเช่น

อวัยวะภายใน

สิ่งที่สะท้อนถึงความสมบูรณ์

หัวใจ

สีหน้าแจ่มใส  การแสดงอารมณ์เป็นธรรมชาติ  การพูดชัดเจนมีสติสัมปชัญญะปกติ  และมีปฏิกิริยาตอบสนองว่องไว

ปอด

จังหวะการหายใจที่ดีและสม่ำเสมอ

ม้าม

มีกล้ามเนื้อที่ดูสมบูรณ์แข็งแรง  การเคลื่อนไหวของแขนขาเป็นไปได้อย่างคล่องแคล่ว

ตับและไต

มีความตื่นตัวดี  มีแววตาเป็นประกายสดใส

 

 การดูความมีชีวิตชีวา ( 望神)

ความมีชีวิตชีวา

ลักษณะที่ปรากฎ

สะท้อนให้เห็นถึง

มีชีวิตชีวา
(有神得神)  

มีความรู้สึกตัวดี  แววตามีประกาย  ใบหน้าอิ่มเปล่งปลั่ง  การแสดงทางอารมณ์เป็นธรรมชาติ การพูดเปล่งเสียงชัดเจน  หายใจสม่ำเสมอ กินได้ปกติ กล้ามเนื้อไม่ฝ่อลีบตอบสนองดี

เจิ้งชี่ (正气) สมบูรณ์จิงชี่ (精气) ยังไม่ถูกทำลายร่างกายแข็งแรง หรืออาการของโรคยังเบา แนวโน้มของโรคไปในทางที่ดี 

ไม่ค่อยมีชีวิตชีวา
(少神)

มีความรู้สึกตัวไม่ดี  แววตาไม่สดใส  ใบหน้าไม่เปล่งปลั่ง  ไม่ค่อยพูดจา กินอาหารน้อย หายใจไม่เต็มปอด  กล้ามเนื้ออ่อนแรง

เจิ้งชี่ (正气) ไม่เพียงพอจิงชี่ (精气) ถูกทำลายร่างกายอ่อนแอ อาการของโรคเบาแนวโน้มของโรคค่อนข้างดี ยังฟื้นฟูได้

ขาดชีวิตชีวา
(无神 ,失神

เซื่องซึม ไม่มีสติ  แววตาหมองคล้ำ  ใบหน้าขุ่นมัว  การแสดงทางอารมณ์ไม่ค่อยสอดคล้อง การพูดไม่ปกติ เพ้อเจ้อหายใจไม่สม่ำเสมอ หอบ   กินอาหารไม่ได้   ผอมแห้งเห็นกระดูก  กล้ามเนื้อฝ่อลีบไม่มีกำลัง

เจิ้งชี่ (正气)ถูกทำลายอย่างมากจิงชี่ (精气)พร่องอาการของโรคหนัก แนวโน้มของโรคไม่ดี 

มีชีวิตชีวาเทียม
(假神)

พบในผู้ป่วยที่มีอาการหนัก  แต่อยู่ๆก็กลับดูมีชีวิตชีวา  แววตากลับมามีประกาย  ใบหน้ามีสีแดงเหมือนทาแป้งที่แก้ม   มีความอยากอาหาร  พูดจาไม่หยุด ลุกขึ้นมาเดินได้   

จิงชี่ (精气)พร่องอย่างมากยินหยาง (阴阳) เริ่มออกจากร่างกายอาการของโรคอยู่ในขั้นอันตราย เป็นสัญญาณก่อนจะดับมอด

ความมีชีวิ ตชีวาแปรปรวน 
(神乱神志异常)

ซึมเศร้า (癫) – เฉื่อยชา เหม่อลอย ชอบพูดกับตัวเองหัวเราะร้องไห้ผิดปกติ

คลุ้มคลั่ง (狂) – อารมณ์พลุ่งพล่าน ไม่สงบ หัวเราะไปด่าไป ทำลายข้าวของ ขึ้นไปยืนที่สูงร้องเพลง ถอดเสื้อเดิน

ชัก (痫) – ล้มหมดสติเฉียบพลัน ไม่รู้สึกตัว  น้ำลายฟูมปาก มีเสียงร้องแปลกๆ  แขนขากระตุกเกร็ง  ตื่นมาเป็นปกติ

癫 – มีเสมหะอุดกั้นในระบบไหลเวียน

狂 - มีไฟเสมหะรบกวนหัวใจ

痫 - ลมตับและเสมหะปิดกั้นทวารส่วนบน

 

การดูสีหน้า ( 望气色 )
       สีหน้าที่ผิดปกติ  หมายถึง การเปลี่ยนแปลงของสีผิวและความสดใส  อันเนื่องมาจากการเจ็บป่วย  ซึ่งแบ่งเป็น 5 สี ตามอวัยวะภายในทั้ง 5 ดังนี้

สีหน้า

อวัยวะ

โรคหรือกลุ่มอาการ

เขียว

ตับ

 กลุ่มอาการจากลม  โรคตับ  กลุ่มอาการปวด กลุ่มอาการความเย็น  เลือดคั่ง

แดง

หัวใจ

 กลุ่มอาการความร้อน (ร้อนแกร่ง / ร้อนพร่อง) กลุ่มอาการหยางลอยขึ้นบน

สีหน้า

อวัยวะ

โรคหรือกลุ่มอาการ

เหลือง

ม้าม

  กลุ่มอาการม้ามพร่อง  กลุ่มอาการความชื้น   ดีซ่าน

ดำ

ไต

  ไตพร่อง (หยางไตพร่อง / ยินไตพร่อง)  น้ำคั่งค้างในร่างกาย  โรคเกี่ยวกับระบบเลือด  เลือดคั่ง   กลุ่มอาการความเย็น

ขาว

ปอด

 กลุ่มอาการความเย็น  กลุ่มอาการพร่อง (เสียเลือด)

       นอกจากการดูสีหน้าแล้ว  ยังมีการดูลักษณะรูปร่างว่าแข็งแรง  อ่อนแอ  อ้วนหรือผอม  ดูลักษณะร่างกายเฉพาะส่วน เช่น ดูเส้นผม  ดูดวงตา  การดูสารคัดหลั่ง เช่นเสมหะ   น้ำลาย  น้ำมูก  อาเจียน เป็นต้น

การดูลิ้น (舌诊)   การแบ่งเป็นส่วนต่าง ๆ ของลิ้น
            - แบ่งลิ้นออกเป็นบริเวณของอวัยวะภายใน  ดังนี้ 
                       ส่วนปลาย(舌尖)  :           หัวใจ(心)  ปอด(肺)
                        ส่วนกลาง(舌中)   :           ม้าม (脾)  กะเพาะอาหาร(胃)
                        ส่วนขอบ (舌边)   :           ตับ (肝)  ถุงน้ำดี (胆)
                        ส่วนโคน (舌根)   :           ไต (肾)

การตรวจส่วนต่าง ๆ ของลิ้น 

         - การมีชีวิตชีวา (舌神)  ได้แก่  ลิ้นห่อเหี่ยว  ลิ้นมีประกายมีน้ำมีนวล

        - สีของตัวลิ้น (舌色) ได้แก่
                     สีชมพูอ่อน (淡红舌)------ คนที่ปกติที่ไม่มีโรคภัยไข้เจ็บ  หรืออาการของโรคเบา  ยังมีเจิ้งชี่สมบูรณ์
                     สีขาวซีด (淡白舌)---------พบในกลุ่มอาการเย็น หรือกลุ่มอาการพร่อง (หยางพร่อง, เลือดพร่อง)
                     สีแดง (红舌)  ------------ พบในกลุ่มอาการร้อน
                     สีแดงจัด (红绛舌)  --------อยู่ในกลุ่มอาการร้อนมากจนทำให้ยินพร่องเกิดไฟ
                     สีม่วง(紫舌) ---------------พบในกลุ่มอาการเย็นหรือกลุ่มอาการร้อน

        - ลักษณะของลิ้น(舌形)   ได้แก่  ลิ้นผอมเล็ก (胖瘦) ลิ้นบวมโต(肿大)  ผิวลิ้นหยาบนุ่ม (红绛舌) ผิวลิ้นมีตุ่มนูนแดง (芒刺)  ลิ้นมีร่องรอยแตก (裂纹)  ลิ้นมีรอยหยักของฟัน (齿龈)  ลิ้นลื่นวาว(光滑)  ลิ้นมีจุดเลือด (瘀斑)  ฯลฯ

        - ลักษณะการเคลื่อนไหว (舌态)
                      ลิ้นแข็งทื่อ(强硬) ------- ไม่คล่องตัว แสดงว่าความร้อนมากทำให้เสียน้ำ เป็นอาการเตือนของจ้งเฟิง (中风) 
                      ลิ้นอ่อนแรง (痿软) ----- เคลื่อนไหวไม่คล่อง  อ่อนแรง  แสดงว่าชี่และน้ำในร่างกายพร่อง
                      ลิ้นสั่น(震颤 ) ---------- ลิ้นสั่น ไม่สามารถควบคุมได้ มักพบในภาวะเกิดลมในตับ หรือภาวะชี่และเลือดพร่อง
                      ลิ้นเฉ (歪斜)  ----------- เมื่อแลบลิ้น ลิ้นเฉไปข้างหนึ่ง  เป็นอาการเตือนของจ้งเฟิงหรืออัมพาต

         - การดูฝ้าของลิ้น (舌苔)  ฝ้าบนลิ้นมีความเกี่ยวข้องกับพลังของระบบม้ามและกระเพาะอาหาร  ซึ่งควบคุมเกี่ยวกับการย่อยสลาย  และลำเลียงอาหารไปยังส่วนต่าง ๆ  การเปลี่ยนแปลงของฝ้าบนลิ้นจึงบ่งบอกถึงพลังของกระเพาะอาหารและม้าม

                1. ดูสีของฝ้า   :   สีขาว (白苔) --------  พบในกลุ่มอาการภายนอก  กลุ่มอาการเย็น
                                        สีเหลือง(黄苔) ------  พบในกลุ่มอาการภายใน  กลุ่มอาการร้อน
                                        สีเทาดำ(灰黑苔)  ---- มักพบในกลุ่มอาการร้อน

                2. ดูลักษณะของฝ้า  :  ฝ้าหนา-บาง (厚薄)  

                            - ฝ้าหนา :มองไม่เห็นตัวลิ้น  ปัจจัยก่อโรคค่อนข้างรุนแรง
                            - ฝ้าบาง :มักพบในคนปกติ  หรืออาการของโรคอยู่ในระยะเริ่มต้น
                                               ฝ้าชุ่มชื้น-แห้ง (润燥)
                                               ฝ้าเหนียวหรือร่อน(腻腐)
                                               ฝ้าหลุดลอก (剥苔)

 

2. การฟังเลียงและการดมกลิ่น(闻诊)

 

  การฟังเสียง  ได้แก่       - เสียงแหบ   การเปล่งเสียงฟังเสียงว่าดังมีพลัง หรือเสียงเบาเหมือนไม่มีแรงพูด หรือพูดขาด ๆ หยุด ๆ
                                    - ลักษณะการพูด เช่น พูดลิ้นแข็งไม่ชัด พูดไม่รู้เรื่อง  พูดซ้ำซาก  พูดกับตัวเอง
                                    - เสียงหอบ
                                    - เสียงไอ
                                    - เสียงอาเจียน

                                    - เสียงสะอึก

  การดมกลิ่น   (จำเป็นต้องใช้วิธีการถาม และการดูร่วมด้วย) ได้แก่
                                    - กลิ่นปาก                      - กลิ่นเหม็นจากลำตัว
                                    - กลิ่นเหงื่อ                     - กลิ่นอุจจาระ
                                    - กลิ่นในจมูก                   - กลิ่นในห้องผู้ป่วย

 3. การถาม(问诊)
     ในทัศนะแพทย์จีน  การถามก็เพื่อแยกแยะและวิเคราะห์ให้เข้าใจสภาวะโรค  ดังนั้น การถามจึงไม่เหมือนกับการซักประวัติในแง่ของการแพทย์แผนตะวันตกเสียทีเดียว ในการถามประวัติทางการแพทย์จีนมีการจัดกลุ่มคำถามที่ควรถามผู้ป่วยหรือญาติไว้ 10หัวข้อ  ดังนี้
            1. ร้อนและเย็น (问寒热)
            อาการเย็น หมายรวมถึง อาการกลัวหนาว และอาการหนาว  ส่วนอาการร้อน หมายรวมถึง อาการร้อนจัด (ไข้สูง)  อาการร้อนเป็นเวลา (ไข้เป็นพัก ๆ ) และอาการร้อนต่ำ (ไข้ต่ำ)  อาการร้อนและเย็นที่พบบ่อยในทางคลินิกจะมี 4 ประเภท  ได้แก่
                        - อาการกลัวหนาวและมีไข้ (恶寒发热同时并见)
                        - อาการหนาวอย่างเดียว (畏寒不发热)
                         - อาการร้อนอย่างเดียว (发热不恶寒)
                        - ร้อนสลับหนาว (寒热夹杂)
            2. เหงื่อ (问汗) ถามว่าเหงื่อออกมากหรือน้อย  หรือไม่มีเหงื่อ หรือเหงื่อออกเฉพาะที่
            3. ศีรษะและลำตัว  (问头身) ถามลักษณะอาการปวดและตำแหน่งที่ปวด
            4. ปัสสาวะและอุจจาระ (问大小便)  ต้องถามว่าปกติหรือไม่  จำนวนครั้ง  ปริมาณ  สีสัน มีเลือดออกปนมาด้วยหรือไม่
            5. อาหารการกินและรสชาติ (问饮食) ต้องถามถึงความอยากอาหาร  ความสามารถในการกินเป็นอย่างไร  ปกติหรือไม่  กินแล้วรู้สึกอย่างไร  และความรู้สึกต่อรสชาติของอาหารดีหรือไม่ด้วย
            6. ทรวงอก  ท้อง และสีข้าง (问胸腹) ต้องถามให้แน่ชัดถึงบริเวณที่ปวด  และลักษณะอาการปวด
            7. การได้ยินและการมองเห็น (问耳目)
            8. ความกระหายน้ำ (
问渴)
            9. ประวัติเกี่ยวกับการป่วย (
问病史)
            10. สาเหตุแห่งการเจ็บป่วย (
问病因)
            นอกจากนี้ ในสตรีควรถามประวัติการมีประจำเดือน (问妇女经带胎产)  ส่วนในเด็กควรถามประวัติการออกผื่น เช่น สุกใส หรือหัด เป็นต้น และการหลับนอน (问睡眠情况)

4. การตรวจชีพจร(脉诊)

       ตำแหน่งของการตรวจชีพจรจะอยู่บริเวณข้อมือด้านในทั้ง 2 ข้าง  โดยวางนิ้วกลางที่จุดกวน ซึ่งอยู่บริเวณที่มีกระดุกข้อมือนูนขึ้นมา  วางนิ้วชี้ถัดจากนิ้วกลางไปทางปลายนิ้วมือของผู้ป่วยที่จุดชุน  ส่วนจุดฉื่อ ให้วางนิ้วนางถัดจากนิ้วกลางค่อนไปทางต้นแขนโดยให้วางทั้ง 3 นิ้วเรียงติดกัน คือ ตำแหน่ง ชุ่น กวน ฉื่อ   ตำแหน่งของชีพจรจะมี 3 ตำแหน่งในแต่ละข้าง  สามารถตรวจสอบบ่งชี้ประสิทธิภาพการทำงานของอวัยวะภายในร่างกายได้ดังนี้    

จุด

ข้อมือซ้าย

ข้อมือขวา

ชุ่น ()

หัวใจ   ลำไส้เล็ก

ปอด   ลำไส้ใหญ่

กวน()

ตับ    ถุงน้ำดี

ม้าม    กระเพาะอาหาร

ฉื่อ()

ไตยิน  กระเพาะปัสสาวะ

ไตหยาง  (มิ่งเหมิน)

 

 

 

 

 

 

 

 

ชีพจรแบ่งออกเป็น 3 อย่าง คือ

1. ชีพจรของคนปกติ

     โดยทั่วไป การเต้นของชีพจรจะไม่ใหญ่ ไม่เกิน ไม่เล็ก ไม่ผิว ไม่ลึก ไม่เร็ว ไม่ช้า ขณะที่หายใจเข้าออกเต้น 4 หรือ 5 จังหวะ สม่ำเสมอ แต่ชีพจรของคนปกติอาจเปลี่ยนไปตามอายุ เพศ เวลา ร่างกาย และสภาวะทางจิตใจได้  เช่น เด็กชีพจรจะเต้นไวกว่าผู้ใหญ่ ชีพจรของ ผู้หญิงเต้นเร็วกว่าผู้ชาย คนแข็งแรง คนที่ทำงานหนัก ชีพจรจะใหญ่ และเต้น เร็ว คนที่ทำงานเบาใช้สมอง ชีพจรจะเล็ก และไม่มีแรง หลังจากออกกำลัง กายใหม่ๆ ชีพจรจะเต้นเร็ว คนที่นอนหลับเพิ่งตื่น หรือพักผ่อนมาก ชีพจรจะ เต้นช้า เป็นต้น

 

2. ชีพจรของคนป่วย

      แพทย์จีนโบราณ ได้ค้นพบว่า การเต้นของ ชีพจรคนที่ป่วยมีลักษณะการเต้นที่แตกต่างกันมากมายหลายแบบ และ ซับซ้อนโดยได้แบ่งลักษณะการเต้นของชีพจรแบบต่าง ๆ มีทั้งหมด 28 แบบ ซึ่งการเต้นในแต่ละแบบแต่ละชนิดได้บ่งบอกถึงอาการ และชนิด ของโรคที่เกิดขึ้นกับอวัยวะภายในของคนนั้นแตกต่างกันด้วย

ประเภทชีพจรลอย (浮脉类)
            การเต้นของชีพจรมีลักษณะลอย หมายถึง เมื่อใช้นิ้วทั้ง 3 นิ้ว สัมผัสลงที่ชีพจรเบาๆ ก็พบชีพจร แสดงว่าโรคนั้นยังเกิดอยู่ภายนอก  ยังไม่ได้เข้าถึงภายใน
             1.ชีพจรลอย (浮脉) สัมผัสเบาๆจะพบชีพจร คล้ายท่อนซุงลอยน้ำ,เวลาที่กดจมเล็กน้อย จะลอยขึ้นทันทีที่ปล่อยมือ
            2. ชีพจรเต็ม (洪脉) การเต้นของชีพจรลอย และชนนิ้วมือแรง แสดงว่า อาการของผู้ป่วยคือ อาการไข้ ความร้อนสูง
            3. ชีพจรกระจาย (散脉) การเต้นของชีพจรลอย และเต้นมาชนนิ้ว มือลักษณะกระจายหลวมๆ แสดงว่า อาการของผู้ป่วยคือ โรคไตที่ขาดพลัง
            4. ชีพจรกลวง (芤脉) การเต้นของชีพจรลอย เมื่อกดนิ้วมือลงไป แล้วรู้สึกกลวงเหมือนกดลงบนใบไม้ที่ลอยอยู่ แสดงว่า ผู้ป่วยนั้นขาดโลหิต หรือเสียโลหิตมากเกินไป เช่น หลังได้รับการผ่าตัด เสียโลหิตจากอุบัติเหตุ ต่างๆ สตรีตกโลหิต
            5. ชีพจรหนังกลอง (革脉) การเต้นของชีพจรลอย เมื่อกดนิ้วมือลงไป แล้ว รู้สึกแข็งเหมือนกับหนังกลอง แสดงว่า ผู้ป่วยมีอาการของพลังอิม และ เอี๊ยงไม่ประสานกัน
            6. ชีพจรนิ่ม (濡脉) การเต้นของชีพจรลอย เมื่อกดนิ้วมือลงไปเบาๆรู้สึก ว่าชีพจรนั้นเล็ก และนิ่ม แสดงว่า ผู้ป่วยมีความร้อนในร่างกายปนกับความชื้น

ประเภทชีพจรจม (沉脉类)
        การเต้นของชีพจรมีลักษณะจม  หมายถึง เมื่อใช้นิ้วมือ ทั้ง 3 นิ้วกดลงไปแรงๆจึงจะสัมผัสชีพจรได้ ถ้าแตะนิ้วเบาๆจะไม่รู้สึก หรือ รู้สึกแผ่วเบามาก  แสดงว่า โรคนั้น ได้เกิดอยู่ส่วนลึกของอวัยวะภายในแล้ว
            1. ชีพจรจม (沉脉) อยู่ลึก แตะเบาๆไม่เจอชีพจร  ต้องกดลงไปแรงๆจึงจะพบการเต้นของชีพจร  แสดงว่าโรคได้เข้าสู่ภายใน
            2. ชีพจรจมลึก (伏脉) การเต้นของชีพจร เมื่อกดนิ้วมือลงไปต้อง กดนิ้วให้หนักจนจมลงไปถึงกระดูก จึงจะสัมผัสชีพจรได้ เพราะชีพจร หลบอยู่ที่ซอกกระดูก แสดงว่า โรคนั้นหลบซ่อนอยู่ภายในอวัยวะ
            3. ชีพจรแข็ง (牢脉) การเต้นของชีพจร เมื่อกดนิ้วมือลงไปต้อง กดนิ้วลงไปแรงๆ จึงจะสัมผัสชีพจรได้ และการเต้นของชีพจรนั้นมีชีพจรที่ ใหญ่ และเต้นแรง แสดงว่า ผู้ป่วยมีอาการที่สะสมไว้นาน ซึ่งจะพบว่า อุจจาระของผู้ป่วยเป็นก้อนแข็ง   การสะสมเช่นนี้อาจจะ เป็นการสะสมความเย็น
            4. ชีพจรอ่อน (弱脉) การเต้นของชีพจร เมื่อกดนิ้วมือลงไป ต้องกดนิ้วลงไปแรงๆจึงจะสัมผัสชีพจรได้ แต่ชีพจรนั้นจะอ่อนมาก เล็ก และ ค่อย แสดงว่า ผู้ป่วยอาการพลังธาตุไฟกำลังจะสิ้น
            5. ชีพจรสั้น (短脉)เมื่อสัมผัสนิ้วมือ ลงไปที่ชีพจร การเต้นของชีพจรจะเต้นแบบสั้นๆ เป็นชีพจรที่สัมผัสยากมาก ชีพจรสั้นนี้ส่วนมากมักร่วมกับชีพจรเล็กในผู้ที่อ่อนแอ  ลักษณะการเต้นของชีพจรสั้นนี้หากพบร่วมอยู่ในผู้ป่วยอาการใด อาการก็จะยิ่งหนักมากขึ้น
            6. ชีพจรยาว(长脉) เมื่อสัมผัสนิ้วมือ ลงไปที่ชีพจร การเต้นของชีพจรนั้นจะมีลักษณะยาวเป็นเส้นเดียวกัน  ซึ่งมีระยะความยาวของชีพจรจากจุดนิ้วชี้ที่ข้อมือยาวถึงข้อพับศอกด้านใน ชีพจรยาวแต่เต้นไม่ไว ไม่แรง เต้นช้าแบบปกติธรรมดา   แสดงว่า ผู้นั้นไม่ป่วยไม่ไข้
            หากผู้นั้นเป็นคนที่แข็งแรง ถ้าการเต้นของชีพจรยาว และเต้นแรง และแข็ง ก็จะต้องวินิจฉัยถึงความร้อนภายในร่างกายย่อมมีความร้อนสูง ซึ่ง จะต้องเป็นความร้อนของตับ แสดงว่า พลังของตับติดขัด ไม่สมดุลจึงเกิดความ ร้อน และอาจมีเสมหะมากแทรกซ้อนด้วย   ถ้าหากชีพจรยาว แข็ง ไม่ลอย แต่ก็ ไม่ถึงกับจม ส่วนใหญ่ผู้ป่วยจะมีอาการปวดตามเส้นเอ็น

ประเภทชีพจรช้า (迟脉类)
            1. ชีพจรช้า (迟脉)  เมื่อแตะนิ้วมือ ลงไปที่ชีพจร แล้วหายใจเข้าออก ชีพจรนั้นเต้นได้ 4 ครั้ง ต่อการหายใจเข้าออกหนึ่งครั้ง  ด้วยจังหวะที่สม่ำเสมอ  ถ้าเต้นมีกำลัง แสดงว่ามีความเย็นสะสมมาก   ถ้าเต้นไม่มีกำลัง แสดงว่า ชี่พร่อง
            2. ชีพจรเนิบช้า (缓脉) การเต้นของชีพจร เมื่อแตะนิ้วมือลงไป ที่ชีพจร แล้วชีพจรนั้นเต้นได้แค่ 2 หรือ 3 ครั้ง เท่านั้น แสดงว่า ผู้ป่วยมี อาการไข้เย็น
            3. ชีพจรฝืด (涩脉) การเต้นของชีพจร เมื่อแตะนิ้วมือลงไปที่ ชีพจร การเต้นของชีพจรเต้นช้าแบบหนืดๆคล้ายไม่ไหล แสดงว่า ผู้ป่วยนั้น มีโลหิตจาง
            4. ชีพจรสะดุด (结脉) การเต้นของชีพจร เมื่อแตะนิ้วมือลงไป ที่ชีพจร แล้วมีลักษณะชีพจรเต้นช้า และมีการหยุดเป็นพักๆ  ไม่มีกฏเกณฑ์แน่นอน  แสดงว่า ชี่และการไหลเวียนเลือดติดขัด  หรือมีความเย็นสะสม
            5. ชีพจรขาด (代脉) การเต้นของชีพจร เมื่อแตะนิ้วมือลงไปที่ ชีพจร แล้วการเต้นของชีพจรนั้นช้า และมีการหยุดจังหวะการเต้น จังหวะ ใดจังหวะหนึ่งอย่างแน่นอนโดยที่ไม่ได้เปลี่ยนไปที่จังหวะอื่น แสดงว่า พลังของอวัยวะตันอ่อนแอ หรือเป็นโรคเกี่ยวกับหัวใจ 

ประเภทชีพจรเร็ว (数脉类)

             1.ชีพจรเร็ว (数脉  เมื่อแตะนิ้วมือ ลงไปที่ชีพจร การเต้นของชีพจรนั้นเร็วกว่าคนธรรมดา ชีพจรจะเต้นได้ 5 - 6 ครั้งขึ้นไป ต่อการหายใจหนึ่งครั้ง     แสดงว่า อาการไข้ของผู้ป่วยมี ความร้อนอยู่ในอวัยวะ
            2. ชีพจรลื่น (滑脉) การเต้นของชีพจรจะมีลักษณะเร็ว และลื่น แสดงว่า ผู้ป่วยมีเสมหะเสลดมาก แต่อาการเช่นนี้ หากไม่มีอาการอื่นแทรก ซ้อน อาจเป็นคนไม่มีไข้ก็เป็นได้
            3. ชีพจรเร่ง (促脉การเต้นของชีพจรมีลักษณะเร็ว และเร่ง แต่ในการเต้นจะมีจังหวะหยุด แต่ไม่แน่นอนไม่มีกฏเกณฑ์ แสดงว่า ผู้ป่วยมีความร้อนสุมอยู่ในอก
            4. ชีพจรเต้น (动脉การเต้นของชีพจรมีลักษณะเร็ว เมื่อนิ้วมือ ทั้ง 3 นิ้วสัมผัสลงไปที่ชีพจร นิ้วกลางจะเต้นแรงกว่านิ้วอื่น คล้ายเม็ดถั่วดำ สั้นๆเต้นขึ้นกระทบนิ้วกลางนิ้วเดียว แสดงว่า ผู้ป่วยมีการตกโลหิต หรือคน ป่วยได้รับความกลัวสุดขีด
            5. ชีพจรรัว (疾脉การเต้นของชีพจรมีลักษณะเต้นรัวแบบถี่ยิบ การหายใจเข้าออกชีพจรจะเต้นเร็วถึง 7 - 8 ครั้ง แสดงว่า ผู้ป่วยมีอาการไข้ ที่ตกอยู่ในขั้นอันตรายมาก ต้องระวัง 

ประเภทชีพจรพร่อง (虚脉类)

            1. ชีพจรพร่อง (虚脉) สัมผัสทั้งสามระดับ จะรู้สึกว่าไม่มีกำลัง หรือเมื่อสัมผัสเบา รู้สึกไม่มีแรง เล็ก แต่พอกดลึกแล้วหายไป
            2. ชีพจรเล็ก (细脉) เมื่อสัมผัสนิ้ว มือลงไปที่ชีพจร การเต้นของชีพจรจะเล็กคล้ายเส้นดาย หรือใยแมลงมุม แสดงว่า ผู้ป่วยมีพลังน้อย
            3. ชีพจรฝอย (微脉) การเต้นของชีพจรมีลักษณะเล็กจนเป็นฝอย คล้ายไม่มีชีพจร แสดงว่า ผู้ป่วยมีพลัง และโลหิตน้อย เพราะธาตุไฟกำลัง ใกล้จะมอด ชีพจรลักษณะเช่นนี้ไม่ว่าจะลอยหรือจม จัดเป็นชีพจรที่อันตราย

ประเภทชีพจรแกร่ง (实脉类)
            1. ชีพจรแกร่ง (实脉มีลักษณะใหญ่ และการเต้นมาชนนิ้วมือแรง หรือแข็งเกินไป รู้สึกเต็มมือ  แสดงว่า มีภาวะแกร่ง เนื่องจากมีความเย็น หรือความร้อนสะสมอยู่มาก  เกิดการสะสมของเสมหะ  ชี่อุดกั้น   เลือดอุดกั้น
            2. ชีพจรแน่น (紧脉) การเต้นของชีพจรนั้นเต้นแรง  แต่ไม่คงที่ คล้ายเชือกที่ตึงและบิดแน่น  แสดงว่า มีการสะสมความเย็นในร่างกายมาก    หรือมีอาการปวด  มีอาหารตกค้างภายใน

3. ชีพจรแบบประหลาด

       คือ ผู้ที่มีชีพจรเต้นไม่เหมือนชีพจร ธรรมดาที่ไม่มีไข้ หรือที่มีไข้ เป็นลักษณะชีพจรของผู้ป่วยที่ใกล้จะสิ้นใจ มี 7 ชนิด ดังนี้
            1. นกกระจอกจิก (雀啄脉) คือ ชีพจรของผู้ป่วยหลบอยู่ ในเส้นเอ็น และกล้ามเนื้อ การเต้นเหมือนกับนกกระจอกจิกข้าวเปลือก จิกๆหยุดๆ
            2. หลังคารั่ว (屋漏脉) คือ ชีพจรของผู้ป่วยเต้นอย่างไม่มีจังหวะ เหมือนหลังคาที่มีรูรั่ว เมื่อฝนตก น้ำที่ไหลจากรูรั่วนั้น จะหยดลงมานานๆ สักหนึ่งหยด และบางครั้งก็หยดลงมาทีละ 2 หรือ 3 หยดติดต่อกัน
            3. ระเบิดหิน (弹石脉) คือ ชีพจรของผู้ป่วยหลบอยู่ในเส้นเอ็น และกล้ามเนื้อ เต้นแบบไม่มีจังหวะ ชีพจรแข็ง เต้นๆหยุดๆแบบกระตุก เหมือนระเบิด
            4. แก้เชือก (解索脉) คือ ชีพจรของผู้ป่วยเต้นอย่างไม่มี ระเบียบยุ่งๆเหยิงๆ สับสนจนไม่รู้เรื่อง เหมือนกับการแก้เชือกที่ยุ่งเหยิง
            5. ปลาสะบัดหาง (鱼翔脉) คือ ชีพจรของผู้ป่วยเมื่อวางนิ้ว มือลงไปทั้ง 3 นิ้วอย่างแผ่วๆ จะสัมผัสได้ว่า การเต้นของชีพจรนั้นลอย หัวชีพจรจะนิ่ง แต่ปลายชีพจรจะสะบัด เหมือนปลาที่กำลังว่ายน้ำอยู่ บนผิวน้ำ ส่วนหัว และตัวปลานิ่ง ส่วนหางสะบัด
            6. กุ้งว่ายน้ำ (虾游脉) คือ ชีพจรของผู้ป่วยที่เต้นลอย และนานๆ มีการเต้นแบบดีดครั้งหนึ่ง เหมือนกับกุ้งว่ายน้ำ
            7. กระเพื่อม (釜沸脉) คือ ชีพจรของผู้ป่วยที่เต้นลอย เมื่อสัมผัส ดูคล้ายกับน้ำที่เต็มแก้วแล้วกระเพื่อมหกออกมา 

 

      

http://a4.att.hudong.com/10/87/01300000022805122826870166812.jpg