ทฤษฎีปัญจธาตุ

ทฤษฎีปัญจธาตุ

     ในศาสตร์การแพทย์แผนจีนทุกสรรพสิ่งในจักรวาลรวมถึงร่างกายมนุษย์ล้วนก่อเกิดขึ้นและถูกขับเคลื่อนผลักดันโดย  “ชี่” หรือ “ลมปราณ” ซึ่งสรรพสิ่งแม้ว่าประกอบขึ้นจากชี่ แต่หากจำแนกตามลักษณะเด่นที่แตกต่างกันของสรรพสิ่งในธรรมชาติ สามารถจัดกลุ่มสิ่งที่มีลักษณะเด่นใกล้เคียงกันได้เป็น 5 ธาตุ ประกอบด้วย ไม้ ไฟ ดิน โลหะ และน้ำ รวมเรียกว่าปัญจธาตุ (五行)

 

     ธาตุไม้() เปรียบได้กับการแผ่กิ่งก้านของต้นไม้ที่มีความสามารถโค้งงอและยืดตรงได้

       มีลักษณะพิเศษ คือ การเจริญเติบโต การกระจาย ความผ่อนคลาย 

     

ธาตุไฟ() เปรียบได้กับเปลวไฟที่มีความร้อนแผ่ขึ้นสู่ด้านบนและความสว่างไสว

      มีลักษณะพิเศษ  คือ  ความร้อน ทิศขึ้นสู่ด้านบน ความสว่าง


     ธาตุดิน() เปรียบได้กับดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ที่สามารถเพาะปลูกเก็บเกี่ยวได้

       มีลักษณะพิเศษ  คือ  การให้กำเนิด การรับเข้า การเปลี่ยนแปลง  


     ธาตุโลหะ()  เปรียบได้กับโลหะมีเปลี่ยนแปลงได้ทั้งแข็งและอ่อน

       มีลักษณะพิเศษ  คือ การจมลง ความเงียบงัน การดูดซับ

 

     ธาตุน้ำ() เปรียบได้กับน้ำที่ไหลลงสู่ที่ต่ำ และมีความชุ่มชื้น

      มีลักษณะพิเศษ  คือ  ความชุ่มชื้น มีทิศทางลงล่าง ความเย็น การเก็บกัก  

 

ทฤษฎีปัญจธาตุนอกจากจะศึกษาลักษณะเด่นของสิ่งต่างๆในธรรมชาติตามธาตุแล้ว ยังสามารถแบ่งลักษณะเด่นของส่วนต่างๆในร่างกายมนุษย์ตามธาตุได้อีกด้วย ดังนี้  

ธรรมชาติ

自然界

ปัญจธาตุ

五行

ร่างกายมนุษย์

人体

รสชาด

五味

สี

五色

อากาศ

气候

ฤดูกาล

季節

อวัยวะตัน

อวัยวะกลวง

อวัยวะรับรู้

五官

เนื้อเยื่อ

五体

อารมณ์

五志

เปรี้ยว

เขียว

ลม

ใบไม้ผลิ

ธาตุไม้

ตับ

ถุงน้ำดี

ตา

เอ็น

โกรธ

ขม

แดง

ร้อน

ร้อน

ธาตุไฟ

หัวใจ

ลำไส้เล็ก

小肠

ลิ้น

หลอดเลือด

ดีใจ

หวาน

เหลือง

ชื้น

湿

ปลายร้อน

長夏

ธาตุดิน

ม้าม

กระเพาะอาหาร

ปาก

กล้ามเนื้อ

กังวล

เผ็ด

ขาว

แห้ง

ใบไม้ร่วง

ธาตุทอง

ปอด

ลำไส้ใหญ่

大肠

จมูก

ผิวหนัง,ขน

皮毛

เศร้า

เค็ม

ดำ

เย็น

หนาว

ธาตุน้ำ

ไต

กระเพาะปัสสาวะ

膀胱

หู

กระดูก

กลัว

 

 

ธาตุทั้งห้าจะมีความสัมพันธ์ต่อกันใน 2 ลักษณะคือ  การสร้าง (生)  และการข่ม (克)

 

การสร้าง ()   หมายถึง ความสัมพันธ์ที่มีการหนุนนำกันให้มีการเกิด กระตุ้น พัฒนาระหว่างธาตุทั้ง 5  ธาตุที่เป็นตัวสร้างถือเป็น ธาตุ “แม่” ส่วนธาตุที่ถูกสร้างถือว่าเป็นธาตุ “ลูก”   

ตัวอย่างเช่น  น้ำ ก่อเกิด ไม้  น้ำจึงเป็นแม่ของไม้   และไม้เป็นลูกของน้ำ  แต่ไม้สร้างไฟ  ไม้ จึงเป็นแม่ของไฟและไฟเป็นลูกของไม้  ดังนี้

ไม้       สร้าง     ไฟ       
ไฟ       สร้าง     ดิน       
ดิน       สร้าง     โลหะ
โลหะ     สร้าง     น้ำ      
น้ำ        สร้าง     ไม้        

การข่ม () หมายถึง ความสัมพันธ์ที่มีการยับยั้ง ควบคุมกันระหว่างธาตุทั้ง 5  ซึ่งมีลักษณะดังนี้

                                                     ไม้        ข่ม        ดิน       
                                                     ดิน        ข่ม        น้ำ        
                                                     น้ำ        ข่ม        ไฟ
                                                     ไฟ        ข่ม        โลหะ    
                                                     โลหะ      ข่ม        ไม้        

            

การสร้างและการข่มของปัญจธาตุจะดำเนินควบคู่สัมพันธ์กันในลักษณะสมดุล  ดำรงการหมุนเวียนเปลี่ยนแปลงตามวัฏจักรของสรรพสิ่งและร่างกาย มีการเกิดขึ้น เจริญเติบโต เสื่อมถอยและดับสลายตามธรรมชาติ